วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6 การจัดการกับไวรัส



บทที่ 6 การจัดการกับไวรัส


การจัดการกับไวรัส

  • ทำความรู้จักกับไวรัส
ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น
  • อาการของเครื่องคอมที่ติดไวรัส
  1. เนื้อที่ในฮาร์ดดิสก์ลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยไม่ได้ลงโปรแกรม หรือนำข้อมูลมาลง
  2. วินโดวส์แสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ข้อความโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโปรแกรมบางตัวทำงานโดยที่ไม่ได้สั่ง
  3. คอมพิวเตอร์ทำงานช้า อืดผิดปกติทั้งๆที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไร
  4. ไฟล์ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ทุกครั้งที่ใช้งาน
  5. เปิดหรือการโหลด เข้าใช้งานโปรแกรมเข้าสู่หน่วยความจำใช้เวลานานขึ้น
  6. เครื่องคอมพิวเตอร์เกิดอาการแฮงค์ (Hang) โดยไม่ทราบสาเหตุ อยู่ดีๆโปรแกรมก็ปิดเอง
  7. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ บูตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ไม่ได้
  8. เปิดไฟล์เอกสารไม่ได้ทั้งๆที่เคยเปิดอยู่ทุกวัน หรือเปิดได้แต่เป็นตัวอักษรประหลาดๆ ปนมาด้วย
  9. เครื่องคอมพิวเตอร์มีการกระทำที่แปลกๆ สุดแต่ผู้เขียนโปรแกรมไวรัสจะกำหนดมา เช่น อาจส่งเสียงพิสดารต่างๆ หรือกดอักษร A หนึ่งครั้ง ก็แสดงอักษร A ออกมาได้หลายสิบตัว
  10. เปิดเล่น โปรแกรม IE, Mozilla Firefox เข้าเว็บ สแกนไวรัส.com แล้วมีข้อความโฆษณาหรือข้อความแปลกๆขึ้นที่หน้าจอ
  11. โปรแกรมป้องกันไวรัสไม่สามารถเปิดได้ หรือเปิดโปรแกรมต่างๆ ไม่ได้ อยู่ดีๆโปรแกรมที่ใช้ทุกวันก็หายไป
  12. เครื่องมีการรีสตาร์ทหรือปิดเองขณะใช้งาน หรือไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้
  13. ฮาร์ดดิสก์ หรือ CPU ทำงานมากอย่างผิดสังเกต หรือไฟแสดงการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย (เช่น Broadband Modem, Hub, Switch) ติดตลอดเวลา โดยที่ท่านไม่ได้ใช้งานอะไรเป็นพิเศษ
  14. มีไฟล์ต่างๆ เช่น Autorun.inf หรือไฟล์นามสกุล .vbs ในไดรฟ์ต่างๆ โดยที่ไม่ได้สร้างขึ้น
  15. ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
  16. เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
  17. แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
  18. ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
  • ทำความรู้จัก Noeton Antivirus                                                                                     หยุดไวรัสเวิร์มสปายแวร์บอทและจะมีต่อระบบป้องกันภัย คุกคามทุกชนิดที่เป็นอันตราย Norton Insight – มอบเทคโนโลยีปัญญาขับเคลื่อนนวัตกรรมเร็วน้อยสแกนสั้นรวดเร็วปรับปรุงชีพจรทุก 5 ถึง 15 นาทีให้คุ้มครองถึงนาทีสุดท้ายป้องกันการติดเชื้อไวรัสอีเมลและข้อความโต้ตอบแบบทัน ทีจากการแพร่กระจายความรู้สึกปลอดภัยในขณะที่คุณให้ต ิดต่อ บล็อกเบราว์เซอร์หาประโยชน์และป้องกันเว็บไซต์ที่ติด เชื้อ ที่นี่มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ”Norton AntiVirus”
  • คุณสมบัติโปรแกรม Norton AntiVirus                                                                               1.ใช้ทรัพยากรเครื่องที่น้อย  หรือพูดง่ายๆใช้พื้นในการติดตั้งน้อย ไม่กินแรมจนทำให้เครื่องอืดนั่นแหละครับ
    2. สามารถตรวจสอบสายพันธุ์ไวรัสได้จำนวนมาก แม่นยำ และฉับไวครับ
    3.มีการ Update ฐานข้อมูลของสายพันธุ์ ไวรัสตลอดเวลาครับ ถ้าหากจะให้ดีอัพเดตตลอดทุกวันนั่นแหละครับเพราะว่าไวรัสนั้นเกิดขึ้นใหม่ทุกวันครับ
    4.สามารถสอย เอ๊ย จัดการเจ้าไวรัสนั้นได้ก่อนที่มันจะมาทำลายข้อมูลงานของเราและยังสามารถที่จะซ่อมไฟล์ที่ถูกไวรัส นั้นแทรกซึมบางส่วนให้กลับมาเป็นปกติได้ครับ
    5.มีหน้าตาที่ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย
  • ตรวจจับไวรัสด้วย Noeton Antivirus                                                                                    1. Auto-Protect   


2. คลิกที่แถบ Full System เพื่อให้ตรวจสอบระบบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์  
3. คลิกทีปุ่ม Scan now






5. หลังจากที่โปรแกรมทำการสแกนเสร็จแล้ว จะปรากฏหน้าต่างแสดงการสรุปผลจากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม Finished



อัพเดต Noeton Antivirus  เพื่อป้องกันไวรัสใหม่ๆ
1. ให้เราไปที่เว็บ Download English Updates ของ Symantec เพื่อทำการดาวน์โหลดตัวอัพเดทไวรัสมาใหม่ โดยเราต้องดาวน์โหลดให้ตรงกับระบบของเรา เช่น symrapidreleasedefsx86.exe จะเป็นดัวอัพเดทโปรแกรมที่อยู่บนระบบ 32 bit (ซึ่งส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นระบบนี้) และให้สังเกตุว่าตัวที่เราจะดาวน์โหลดนั้นใช้ได้กับ Norton AntiVirus เวอร์ชั่นที่เราใช้อยู่ เช่นที่ศรชี้ จะใช้ได้กับเวอร์ชั่น 2005 ถึง 2007 และ ยังใช้กับ Norton 360 เวอร์ชั่น 1.0 ได้ด้วย หรือ ถ้าหากรู้ว่าโปรแกรมที่เราใช้เป็นระบบ 32 bit
2. เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วให้ทำการดับเบิ้ลคลิก เพื่อทำการรันโปรแกรมที่เราดาวน์โหลดมา
3. คลิกที่ปุ่ม Yes
4. โปรแกรมจะทำการอัพเดทตัว Antivirus
5. เมื่อเสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม OK ก็เป็นอันเสร็จ

Windowes Defender จัดการกับสปายแวร์ที่มากับอินเทอร์เน็ต

Windows Defender, ซึ่งส่งมาพร้อมกับ Windows เวอร์ชั่นนี้, จะช่วยป้องกัน ซอฟท์แวร์ชั่วร้าย, สปายแวร์, รวมทั้งซอฟท์แวร์ซ่อนเร้นที่ไม่พึงประสงค์ตัวอื่น ๆ ไม่ให้เข้ามาติดที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ เมื่อเปิดการทำงานของ Windows Defender, คุณจะได้รับการแจ้งเตือน ถ้าหากว่ามีสปายแวร์และซอฟท์แวร์ซ่อนเร้นที่ไม่พึงประสงค์ตัวอื่น ๆ พยายามที่จะรัน หรือ ทำการติดตั้งตัวมันเองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ คุณสามารถเลือกได้ว่า คุณต้องการที่จะเพิกเฉย, ทำการกักกันเอาไว้, หรือจะกำจัดมันออกไป ในแต่ละไอเท็มที่ถูกตรวจจับได้




บทที่ 13 จับจองพื้นที่ส่วนตัวบนเน็ตด้วย Google Blogger



บทที่ 13 จับจองพื้นที่ส่วนตัวบนเน็ตด้วย Google Blogger


Blog คืออะไร

             บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย
            ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
          บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน



ขั้นตอนการสร้าง Blog 

1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้ ดังรูป


2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎดังรูปด้านล่าง


3. ให้ใส่รายละเอียดดังรูป
-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)
-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง
-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)
-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง
-คลิกดำเนินต่อไป


4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน
-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้
ไป หรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป


5. จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อ
ไป



เมื่อจบ 5 ขั้นตอนข้างต้นถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้ว


                             ขั้นที่ 6 ในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจัดการกับบล็อกที่สร้างขึ้น

                      คุณสามารถเข้าไปจัดการส่วนต่าง ๆ ของบล็อกได้จาก www.blogger.com  หรือ draft.blogger.com 





สร้างเนื้อหาบน Blog
  1. เปิด Blogger ของตนเองขึ้นมา จากนั้นลงชื่อเข้าใช้งานให้เรียบร้อย
  2. จะพบกับหน้าแรกของ Blogger ของตนดังรูป
3.กดปุ่ม “บทความใหม่” จากเมนูทางด้านซ้ายมือ (ตามที่วงกลมไว้ตามภาพ) เพื่อสร้างบทความหรือ Post ใหม่

             4.Blogger จะแสดงหน้าบทความเปล่าขึ้นมา


                  5. ใส่เนื้อหาที่ต้องการให้เสร็จเรียบร้อย


6.จากนั้นเลือกเครื่องมือที่ต้องการจัดรูปแบบหรือตกแต่ง จากนั้นจัดรูปแบบตามความต้องการให้เรียบร้อย


    • หมายเลข 1 คือ เลือกเมื่อต้องการจัดรูปแบบทั้งหมดด้วยตนเองโดยการใส่ Code HTML
    • หมายเลข 2 คือ การจัดรูปแบบตัวอักษรทั่วไป Font ตัวหนา ตัวเอียง เป็นต้น
    • หมายเลข 3 คือ การใส่ลิ้งค์(ข้อความหรือรูปภาพ) แทรกรูปภาพ เป็นต้น
    • หมายเลข 4 คือ การจัดตำแหน่งของข้อความ การใส่ Bullet เป็นต้น
    •   7.กดปุ่ม "แสดงตัวอย่าง"  ดูหน้าบทความที่แสดง เมื่อพอใจแล้วจากนั้นกดปุ่ม "บันทึก" และ กดปุ่ม "เผยแพร่" เพื่อ   แบ่งปันบทความ

8.จากนั้น Blogger จะแสดงรายการบทความทั้งหมดที่ได้สร้างไว้ขึ้นมา โดยที่บทความที่สร้างไว้ล่าสุดจะอยู่ด้านบนสุดของรายการ




9.ถ้าต้องการแก้ไข ดู ใช้ร่วมกัน หรือลบหน้าบทความนั้น สามารถทำได้โดยการนำเม้าส์ไปชี้ที่บทความ จากนั้นเมนูย่อยจะแสดงออกมา แล้วเลือกเมนูที่ต้องการกระทำได้เลย


10. เมื่อเลือกดูหน้าบทความนั้น Blogger จะแสดงบทความที่เลือกบนรูปแบบหรือเทมเพลตที่ได้ตั้งค่าไว้


นำ Blog ขึ้นแสดงบนอินเตอร์เน็ต


1. ให้คลิกปุ่ม เผยแพร่


2. เมื่อสร้าง Blog เสร็จแล้ว และสามารถแก้ไข/ดู/ลบ ได้ (ตอนนี้ให้คลิกปุ่ม ดู)


3. จะได้ Blog ที่ขึ้นแสดงบนอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว


4.แล้วคลิกปุ่ม  เพื่อโพสต์เนื้อหาใหม่เพิ่มเติม โดยจะแสดงที่ รายชื่อ Blogทั้งหมดของยูสเซอร์นี้ (Configure Blog Archive) เพื่อลิงค์ภายใน Blog

การปรับปรุง Blog
  หลักจากนำบล็อกขึ้นแสดงบนอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว เราสามารถอัพเดท หรือเพิ่มเติมเนื้อหาของเราได้อีกภายหลัง  ซึ่งรวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบล็อกได้ด้วย เพื่อให้เนื้อหาบนบล็อกของเราอัพเดทอยู่เสมอ โดยให้เรา login เข้าใช้งาน โดนเราสามารถเลือกเข้าสู่การปรับส่วนต่างๆ ดังนี้
      - บทความใหม่ : ปรับปรุง เพิ่มเติม เนื้อหาภายในบล็อก
      - ออกแบบ : ปรับการจัดวางรูปแบบของบล็อก


หน้าออกแบบ จัดวางรูปแบบและเพิ่มลูกเล่นให้กับบล๊อกโดยการเพิ่มแก๊ดเจ็ต



การปรับปรุงเนื้อหาภานใน Blog

การ แก้ไขบทความของ Blogger มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก อยากจะแก้บทความไหน ก็แก้ในบทความนั้น อยากจะใช้ป้ายกำกับอะไรให้บทความ ก็สร้างป้ายกำกับ และกดตั้งค่าป้ายกำกับ สามารถลบบทความ ลบป้ายกำกับ ดูรายละเอียดการสร้างบทความ เช่น บทความเผยแพร่เวลาเท่าไร ใครเป็นผู้เขียนบทความนั้น เรามาดูเมนูควบคุมต่างๆ ของการแก้ไขบทความกันเลย

   1. การใช้งานป้ายกำกับ เราสามารถ ลบ เพิ่ม และเปลี่ยนป้ายกำกับให้บทความเราได้ โดยการติ๊กช่องหน้าบทความครับ
   2. ช่องค้นหา สามารถค้าหาบทความโดยใส่ Keyword ลงไปครับ
   3. ช่องแก้ไข และ ชื่อบทความหรือหัวข้อใหญ่ของบทความ ในการแก้ไข เพิ่มป้ายกำกับให้บทความ ลบบทความ เราสามารถติ๊กถูกในช่องหน้าแก้ไข จะสามารถแก้ไขได้พร้อมๆกันครับ

   4. ร่างและวางกำหนดการแสดงของบทความ
   5. บทความที่นำเข้ามาจากบล๊อกอื่น
   6. บทความที่เผยแพร่แล้ว
   7. บทความต่อหน้า จะให้หน้านี้แสดงบทความทั้งหมดกี่บทความ
   8. ลบบทความ
   9. ชื่อคนเขียนบทความ
  10. บทความได้เผยแพร่เวลาเท่าไร
  11. รายชื่อป้ายกำกับทั้งหมด ในส่วนของ () คือจำนวนบทความที่อยู่ในป้ายกำกับนั้น
  12. เผยแพร่บทความ (ที่เราติ๊กถูกหน้าบทความ) ใช้สำหรับบทความที่ร่างไว้
  13. ลบรายการที่เลือก (ที่ติ๊กถูกหน้าบทความ)
  14. สร้างบทความใหม่
  15. ชื่อของป้ายกำกับประจำบทความ


บทที่ 12 ท่องโลกทั้งใบไปกับ Google Earth



บทที่ 12 ท่องโลกทั้งใบไปกับ Google  Earth 

 ประโยชน์สารพัดของ google earth
  1. ดูภาพบ้านของคุณ โรงเรียน หรือสถานที่ใดก็ได้บนโลกใบนี้ - คลิกที่ บินไปที่ ป้อนตำแหน่งในช่องป้อนข้อมูล และคลิกที่ปุ่ม ค้นหา ในผลการค้นหา (แผงสถานที่) ให้ดับเบิลคลิกที่ตำแหน่ง Google Earth จะพาคุณบินไปที่ตำแหน่งนี้
    ปุ่มค้นหา ปุ่มค้นหา
  2. ท่องโลก - ในแผงสถานที่ ให้เปิดโฟลเดอร์ เรียนรู้และสำรวจ และดับเบิลคลิกที่ สำรวจ 
  3. หาเส้นทางการขับขี่จากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง และบินไปตามเส้นทาง - โปรดดูที่ การหาเส้นทาง และ การเดินทางไปตามเส้นทาง
  4. ดูสถานที่และลักษณะรูปร่างที่ยอดเยี่ยมที่สร้างโดยผู้ใช้รายอื่นของ Google Earth - ในแผงเลเยอร์ เข้าไปดูที่ หน้าแสดงของชุมชน เครื่องหมายบอกตำแหน่งและลักษณะรูปร่างอื่นๆ ที่น่าสนใจจะปรากฏขึ้นในมุมมองภาพ 3 มิติ ดับเบิลคลิกจุดที่น่าสนใจเหล่านี้เพื่อดูและสำรวจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การใช้จุดที่น่าสนใจ (POI)
  5. ดูภาพภูมิประเทศของสถานที่ในแบบ 3 มิติ - คุณลักษณะนี้ช่วยเพิ่มความสนุกมากขึ้นสำหรับการดูภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาหรือภูเขา เช่น แกรนด์แคนยอน ไปยังตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง (ดู ข้อ ) เมื่อมุมมองแสดงตำแหน่งนั้นแล้ว ให้ใช้แถบเลื่อนการซูมเพื่อเอียงภูมิประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ การใช้ตัวควบคุมทิศทางและ การเอียงและการดูภูมิประเทศที่เป็นภูเขา 




การดาวน์โหลด google earth
ดาว์นโหลดโปรแกรม
                         การ Download โปรแกรม Google Earth ฟรีได้ที่ http://www.earth.google.com ทำการติดตั้งตามโดย 
Double c  lick ที่ไฟล์ GoogleEarth.exe ที่ Download มาได้ จากนั้นทำตามคำแนะนำจนการติดตั้งแล้วเสร็จ
การแก้ปัญหาภาษาไทยใน Google Earth
ไฟล์ระบบภาษาไทยในที่นี้ หมายถึง เมื่อโปรแกรม Google Earth เปิดไฟล์หมุดที่เป็นภาษาไทย
 สระจะหายไป แต่ถ้าคุณติดตั้งระบบภาษาไทยนี้ จะแก้ปัญหานั้นได้ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเมนูของโปรแกรม Google Earth จะเป็นภาษาไทย หรือหมุดที่เป็นภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาไทย Download  (http://www.thaigoogleearth.com/ )


การใช้งาน google earth

1.การใช้งานเบื้องต้น สมมุติว่าเราต้องการดูแผนที่ของที่ไหน เราก็พิมพ์ชื่อของสถานที่นั้นลงไปในช่อง ดังรูปแล้วกดปุ่ม Enter ที่คีย์บอร์ด 1 ครั้งถ้าพิมพ์ชื่อสถานที่ถูกต้องแผนที่ Google Earth จะวิ่งไปหาสถานที่เราพิมพ์ไว้ ดังรูป ผมสมมุติว่าจะดูแผนที่บริเวณจังหวัดเชียงรายครับ ก็พิมพ์คำว่า chiang rai Thailand แล้วกด Enter


2.ภาพที่ปรากฏจะเป็นแผนที่ของจังหวัดเชียงราย  แล้วเราสามารถเลื่อนเมาส์ ซ้าย ขวา หรือเลื่อนปุ่มกลางของเมาส์เพื่อทำการย่อขยายภาพเข้าออกใกล้ไกล 


3.กรณีที่เราต้องการดูสถานที่สำคัญ ๆ ที่ทาง Google ทำแผนที่ไว้เฉพาะเราก็สามารถดูแผนที่เพิ่มเติมในGoogle Earth ได้โดยไปที่เว็บไซต์ http://earth.google.com/sites/ แล้วคลิกเลือก Open File ตามสถานที่ที่ต้องการ


4.สมมุติว่าผมต้องการดูแผนที่ของ Grand Canyon ผมก็ทำการคลิกที่เมนู Open File รอสักครู่โปรแกรมGoogle Earth ก็จะทำงานวิ่งไปที่แผนที่ของ Grand Canyon โดยอัตโนมัติ การแสดงแผนที่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เน็ต


5.หลังจากที่ออกปิดกากบาทออกจากโปรแกรม Google Earth แล้วเครื่องจะถามให้เราทำการบันทึกสถานที่ที่เราเลือกไว้หรือไม่ เพราะวันหลังจะง่ายต่อการค้นหาในที่นี้ให้ตอบ YES ครับเพื่อบันทึกไว้ จะได้กลับมาดูทีหลังได้สะดวก






บทที่ 8 วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์



บทที่ 8 วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์

วิกิพีเดียคืออะไร

วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน มีคนหลายๆ คนร่วมกันปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ แม้แต่คุณก็แก้ได้ โดยบทความจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกๆ การแก้ไขโดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติ ซึ่งจะเก็บไว้ทุกครั้งและตลอดไป

เข้าสู่วิกิพีเดียแห่งประเทศไทย

                     -ไปยังเว็บ www.wikipedia.org


                                  -คลิกเลือกประเทศ
                                  -แสดงหน้าวิกิพีเดียสารานุกรมเสรีแห่งประเทศไทย


การค้นหาข้อมูลในวิกิพีเดีย




แก้ไขข้อมูลใน วิกิพีเดีย



วิกิทราเวลสารานุกรมฉบับท่องเที่ยว



วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 7 Bittorran ดาวน์โหลดไฟล์อย่างไร้ขีดจำกัด


 บทที่ 7  Bittorran ดาวน์โหลดไฟล์อย่างไร้ขีดจำกัด


ความหมายของ Bittorran
การแลกเปลี่ยนไฟล์ในลักษณะที่ว่านี้ กล่าวคือเป็นการทำงานแบบ peer-to-peer หรือ p2p ความหมายของ p2p คือ การทำงานที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีการติดต่อกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ นับเป็นการแก้ปัญหาคอขวดที่เซิร์ฟเวอร์อย่างตรงไปตรงมาที่สุด
ความสามารถของ Bittorran
เครือข่ายของการใช้โปรแกรมบิตทอร์เรนต์นั้นเป็นลักษณะโยงใยถึงกันหมด ทุกเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถรับส่งไฟล์ถึงกันได้ตลอดเวลา ซึ่งทุกเครื่องจะเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้เมื่อไฟล์เริ่มต้นเผยแพร่มาจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เครื่องอื่นๆ ที่ต้องการไฟล์ (หรือผู้ที่รอโหลดอยู่นั่นเอง) ก็จะค่อยๆ ได้รับชิ้นส่วนไฟล์ไปทีละชิ้นทีละชิ้นแบบสุ่ม เหมือนภาพต่อจิ๊กซอว์ทันทีที่ได้รับชิ้นส่วนไฟล์มา คอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็สามารถส่งต่อชิ้นส่วนไฟล์ที่ได้รับมาแล้วให้เครื่องอื่นที่ยังไม่มีได้ทันที ไม่ต้องรอให้ตัวเองได้ชิ้นส่วนไฟล์จนครบ 100% เสียก่อน เป็นลักษณะของการเติมเต็มให้กัน ชิ้นส่วนไฟล์ตรงใหนที่ขาดไป สุดท้ายแล้วก็จะได้รับมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายในที่สุด ด้วยสาเหตุนี้เอง โปรแกรมบิตทอร์เรนต์จึงสามารถทำให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ทั้งขาเข้าและขาออก

ส่วนประกอบของ  Bittorran

1. Tracker Client  คือ Application ที่ใช้ในการ Download/Upload File Bittorrent ซึ่งมีหลายโปรแกรม มีการทำงานอยู่บน Protocal bittorent เหมือนกันซึ่งสามารถที่จะหา Download ได้จาก www.macupdate.com, www.versiontracker.com application แต่ล่ะตัวก็ความแตกต่างกันหลักๆ ก็คงเป็นแค่ interface เท่านั้น  เพราะโปรแกรมเหล่านี้ทำหน้าที่ download/upload file torrent เหมือนกันนั่นเอง
2. Tracker Server หรือเรียกกันสั้นๆว่า Tracker  คือแม่ข่ายทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างระหว่าง Client และทำหน้าที่เก็บรวบรวม Torrent File ( ไฟล์.torrent ) ไว้
3.  Torrent File  คือตัวสำคัญในการรับ-ส่ง Share File กัน เพราะ Torrent File นี้จะถูกGenerate File ขึ้น โดยจะต้องมีการกำหนด URL ของ Tracker Server ที่ผู้ส่งจะต้องไปคนระบุไว้ เพราะว่า tracker ที่ใช้มีอยู่มาก จึงต้องมีการระบุแอดเดรสไว้ และ รูปแบบประเภทของFile นั้นๆ

เริ่มต้นการใช้งาน Bittorran


1. คลิก Open ไฟล์ torrent ที่ได้มา
2. ที่กรอบหน้าต่าง Task Properties...
ปรกติ ค่าเดิมจะ Save Location ไว้ที่  C:\Program Files\BitComet\Downloads\
แต่ถ้าพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ C: มีน้อย ไม่เพียงพอจัดเก็บไฟล์ หรือต้องการเก็บไฟล์ไว้ฮาร์ดดิสก์ตัวอื่น ทำได้โดยคลิก Browse แล้วเลือกที่จะเก็บ



3. ปรกติ ค่าเดิม(ถ้าไม่มีการไปเปลี่ยนแปลง)จะ Save Location ไว้ที่  C:\Program Files\BitComet\Downloads\
แต่ต่อมาปรากฏว่าพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ C: ไม่เพียงพอจัดเก็บไฟล์ และไฟล์เหล่านั้นดาวน์โหลดได้มามากแล้ว อีกทั้งบางไฟล์ก็โหลดใกล้จะเสร็จ
ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ ไม่ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งดาวน์โหลดกันใหม่ โดยการโอนย้ายไฟล์นั้นไปเก็บยังฮาร์ดดิสก์ตัวอื่นที่มีพื้นที่ว่างมากๆ
วิธีการโอนย้าย
3.1 คลิกแถวไฟล์ที่ต้องการย้าย จากนั้นคลิก Stop รอให้ขึ้นเครื่องหมายกลมสีเทา (ตัวอย่างเช่น แถวรวมเพลงลูกทุ่งเก่า ต้นฉบับเดิม)
3.2 คลิกขวาเมาส์แถวไฟล์ที่ต้องการย้าย จากนั้นคลิกที่ Properties
3.3 คลิก Browse แล้วเลือกที่จะเก็บ (ตัวอย่างเช่น เก็บไว้ที่ใหม่ ที่ D:\New Folder\)
3.4 ที่ Task: เลือกเป็น Resume
3.5 คลิก OK
3.6 Copy ห้องรวมเพลงลูกทุ่งเก่า ต้นฉบับเดิม(รวมไฟล์ทั้งหมดภายในห้อง) ที่เดิมใน C:\Program Files\BitComet\Downloads\ ไป Paste ในที่ใหม่ที่มีพื้นที่ว่างมากๆ ตัวอย่างเช่น D:\New Folder\
3.7 เสร็จแล้วคลิกเมาส์ซ้ายชี้ที่แถวรวมเพลงลูกทุ่งเก่า ต้นฉบับเดิม อีกครั้ง และคลิกที่ Start จะดาวน์โหลดต่อเนื่องตามเดิม
3.8 Delete ห้องรวมเพลงลูกทุ่งเก่า ต้นฉบับเดิม(รวมไฟล์ทั้งหมดภายในห้อง) ที่เดิมใน C:\Program Files\BitComet\Downloads\ เพราะได้ย้ายที่เซฟใหม่แล้ว